ว30287 การสร้างเว็บไซต์
(สร้างด้วย wix)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โครงสร้างเว็บไซต์ คือ ปัจจัยสำคัญซึ่งส่งผลให้การทำเว็บไซต์ประสบความสำเร็จ หากคุณอยากมีเว็บไซต์เพื่อบรรลุเป้าหมายบางอย่าง เช่น ขายของ สื่อสารข้อมูลถึงผู้คน หรือ ต้องการปรากฏบนอันดับต้นๆ ของ Search Engine โครงสร้างเว็บ คือ เรื่องที่ต้องเข้าใจและออกแบบให้ถูกต้อง
โครงสร้างเว็บไซต์ คืออะไร
โครงสร้างเว็บไซต์ คือ แผนผังหรือแผนที่ของเว็บไซต์ซึ่งแสดงข้อมูล 2 เรื่อง ดังนี้
-
เรื่องอะไร | บอกว่า แต่ละเว็บเพจเสนอ เนื้อหา หัวข้อ หรือประเด็นอะไร
-
เชื่อมโยงอย่างไร | แสดงว่า แต่ละเว็บเพจมีการเชื่อมโยง (Link) อย่างไร เพื่อให้เห็นภาพว่า เมื่อผู้ชมเว็บไซต์ดูข้อมูลอยู่ที่เว็บเพจหนึ่ง แล้วจะเดินทางไปดูเว็บเพจอื่นอะไรได้บ้าง
โครงสร้างเว็บไซต์ | ตัวอย่าง
ตัวอย่างโครงสร้างเว็บไซต์ขายอาหารสุนัข ที่แสดงว่า เว็บเพจมีเนื้อหาอย่างไร และ เชื่อมโยงอย่างไรบ้าง
ทำไมโครงสร้างเว็บไซต์จึงสำคัญ
1. สร้างประสบการณ์ที่ดี
โครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี จะทำให้ผู้เข้าเว็บไซต์หาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างครบถ้วน สะดวกรวดเร็ว พวกเขาย่อมรู้สึกพอใจและได้ประสบการณ์ที่ดีจากการใช้เว็บไซต์ ในต่างประเทศ มีผลวิจัยว่า เว็บไซต์ที่สร้างประสบการณ์ที่ดี จะเพิ่มค่า Conversion Rate 400% เมื่อผู้ใช้เว็บไซต์รู้สึกดี พวกเขาย่อมอยากแนะนำเว็บนี้ให้กับเพื่อน หรืออาจสนใจซื้อสินค้าสักชิ้น ดังนั้น โครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่เพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จของเว็บไซต์
2. บริหารข้อมูลง่าย
โครงสร้างเว็บไซต์ จะช่วยให้ผู้สร้างเว็บทำงานได้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีประโยชน์ดังนี้
-
ช่วยให้เห็นภาพว่า ผู้ชมเว็บไซต์จะเดินทางไปเว็บเพจต่าง ๆ อย่างไร จึงจินตนาการได้ว่า พวกเขาจะได้ข้อมูลที่ต้องการอย่างสะดวกหรือไม่
-
ทราบว่าแต่ละเว็บเพจมีหัวข้อหลัก หัวข้อย่อยอะไร จึงจัดกลุ่มเนื้อหาได้อย่างถูกต้อง
-
เมื่อขยายเว็บไซต์ ก็ทำง่ายและเป็นระบบ เพราะรู้แล้วเนื้อหาเดิมมีอะไร ควรเชื่อมโยงเนื้อหาใหม่ที่เว็บเพจไหน
3. ดีต่อ SEO
โครงสร้างเว็บไซต์ คือ สิ่งที่ผลต่อผลลัพธ์การทำ SEO เพราะ กระบวนการทำงานของ Search Engine ขั้นตอนแรก คือ การที่ Bot (โปรแกรมเก็บข้อมูล) จะเข้ามา Crawl เว็บไซต์เพื่อสำรวจว่าเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร มีอะไรบ้าง โดยโครงสร้างเว็บไซต์ ก็ทำหน้าที่เหมือนไกด์นำทางให้ Bot เข้าไปชมสิ่งต่างๆ ภายในเว็บไซต์
โครงสร้างเว็บไซต์มี 4 รูปแบบ ดังนี้
-
โครงสร้างแบบเรียงลำดับ (Linear Structure หรือ Sequential Structure)
-
โครงสร้างแบบลำดับขั้น (Hierarchical Structure หรือ โครงสร้างแบบต้นไม้)
-
โครงสร้างแบบตาราง (Grid Structure)
-
โครงสร้างแบบใยแมงมุม (Web Structure หรือ Hybrid Structure หรือ โครงสร้างเว็บไซต์แบบผสม)
1. โครงสร้างแบบเรียงลำดับ Linear Structure หรือ Sequential Structure
Linear Structure คือ โครงสร้างเว็บไซต์ที่จะนำเสนอเนื้อหาเป็นลำดับๆ ทีละหัวข้อๆ ซึ่งบ้างเรียกว่า Sequential Structure หรือโครงสร้างแบบตามลำดับ เป็นโครงสร้างแบบธรรมดาที่ใช้กันมากที่สุดเนื่องจากง่ายต่อการจัดระบบข้อมูล ข้อมูลที่นิยม จัดด้วยโครงสร้างแบบนี้มักเป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็นเรื่องราวตามลําดับของเวลา เช่น การเรียงลําดับ ตามตัวอักษร ดรรชนี สารานุกรม หรืออภิธานศัพท์ โครงสร้างแบบนี้ เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีขนาดเล็ก เนื้อหาไม่ซับซ้อนใช้การลิงก์ (Link) ไปทีละหน้า ทิศทางของการเข้าสู่เนื้อหา (Navigation) ภายใน เว็บจะเป็นการดําเนินเรื่องในลักษณะเส้นตรง โดยมี ปุ่มเดินหน้า-ถอยหลังเป็นเครื่องมือหลักในการ กําหนดทิศทาง ข้อเสียของโครงสร้างระบบนี้คือ ผู้ใช้ไม่สามารถกําหนดทิศทางการเข้าสู่เนื้อหาของ ตนเองได้
2. โครงสร้างแบบลำดับขั้น Hierarchical Structure หรือ โครงสร้างแบบต้นไม้
Hierarchical Structure คือ โครงสร้างเว็บไซต์ที่นิยมใช้โดยทั่วไป เช่น ถ้าเราสร้างเว็บไซต์โดยเครื่องมือ Web Builder อย่างเช่น สร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress ก็จะได้ Site structure แบบนี้ ทั้งนี้ จากรูปร่างแล้วจะดูเหมือนแผนผังต้นไม้ จึงอาจเรียกว่า Tree Structure ก็ได้
สาเหตุที่โครงสร้างเว็บลักษณะนี้เป็นที่นิยม เพราะมีข้อดี คือ เหมาะสำหรับเว็บไซต์ทั้งขนาดเล็กไม่ถึง 10 หน้า ไปจนเว็บยักษ์ใหญ่อย่าง E-commerce ที่มีหน้าสินค้ามากกว่า 100 หน้า และมักจะจัดการแบ่งหน้าเพจต่างๆ เป็นหมวดหมู่ (Category) ให้เข้าใจง่าย และสำหรับ Google Crawler เองก็มองว่าง่ายและเห็นความสัมพันธ์ของหน้าเพจแต่ละหน้าชัดเจนเช่นกัน
3. โครงสร้างแบบตาราง (Grid Structure)
Web Linked Structure คือโครงสร้างเว็บไซต์ที่มีหลักการว่า “ทุกเว็บเพจต้องเข้าถึงทุกเว็บเพจได้” โดยเป้าหมายคือ ไม่ว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์จะเข้าเว็บเพจใดเป็นหน้าแรก ต้องสามารถเข้าถึงทุกเว็บเพจบนเว็บไซต์ได้ การออกแบบโครงสร้างเว็บแบบนี้ จึงไม่มีรูปแบบตายตัว เจ้าของเว็บไซต์จะทำเชื่อมต่อแต่ละเพจอย่างไรก็ได้ด้วย Internal link ขอให้เข้าถึงทุกเว็บเพจเป็นใช้ได้ เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีขนาดเล็กไม่ถึง 10 เพจ และมุ่งเน้นให้คนเข้าออกกลับไปกลับมาภายในเว็บไซต์ แต่ถ้ามีหน้าเพจมากกว่านี้ก็จะทำให้เว็บไซต์เข้าใจยาก ทั้งในมุมผู้ใช้งานและ Google เองก็อาจจะไม่เข้าใจว่าเว็บไซต์จริงๆ แล้วเกี่ยวกับอะไร
4. โครงสร้างแบบใยแมงมุม (Web Structure หรือ Hybrid Structure หรือ โครงสร้างเว็บไซต์แบบผสม)
โครงสร้างประเภทนี้จะมีความยืดหยุ่นมากที่สุด ทุกหน้าในเว็บสามารถจะเชื่อมโยงไปถึงกัน ได้หมด เป็นการสร้างรูปแบบการเข้าสู่เนื้อหาที่เป็นอิสระ ผู้ใช้สามารถกําหนดวิธีการเข้าสู่เนื้อหาได้ ด้วย ตนเอง การเชื่อมโยงเนื้อหาแต่ละหน้าอาศัยการโยงใยข้อความที่มีมโนทัศน์ (Concept) เหมือนกัน ของแต่ละหน้าในลักษณะของไฮเปอร์เท็กซ์หรือไฮเปอร์มีเดีย โครงสร้างลักษณะนี้จัดเป็น รูปแบบที่ ไม่มีโครงสร้างที่แน่นนอนตายตัว (Unstructured) นอกจากนี้การเชื่อมโยงไม่ได้จํากัด เฉพาะเนื้อหา ภายในเว็บนั้นๆ แต่สามารถเชื่อมโยงออกไปสู่เนื้อหาจากเว็บภายนอกได้
การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์
การออกแบบโครงสร้างเว็บไชต์ คือ การกำหนดหัวข้อและเนื้อหาที่จะนำเสนอบนเว็บเพจ จากนั้นจึงร่างแผนผังการเชื่อมโยงแต่ละเว็บเพจเข้าด้วยกัน เป้าหมายของการออกแบบ คือ สร้างโครงสร้างเว็บที่ช่วยให้ผู้ชมหาข้อมูลที่ต้องการง่าย จัดกลุ่มเนื้อหาอย่างเป็นระเบียบ
ทำให้ผู้ชมเว็บไซต์ได้รับประสบการ์ณเชิงบวก และส่งผลดีต่อ SEO ด้วย
ขั้นตอนออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ (เบื้องต้น) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
1. ระบุเป้าหมาย
ขั้นตอนแรกคือ ต้องระบุเป้าหมาย อะไรคือสิ่งที่ต้องการจากการทำเว็บไซต์ โดยทั่วไป เป้าหมายเว็บไซต์ มักเป็นหนึ่งในสามสิ่ง ดังนี้
-
ขายสินค้า/บริการ
-
สื่อสาร “บางสิ่ง” แก่กลุ่มเป้าหมาย
-
เล่าเรื่องราว/ประสบการณ์ (blog)
เป้าหมายช่วยให้ระบุ “หัวข้อ/ประเด็น” เนื้อหาเว็บไซต์ได้ถูกต้องรู้ “ขอบเขตข้อมูลที่ต้องค้นหา” เช่น สินค้าอะไร จุดเด่นจุดด้อยอย่างไร เรื่องราวแบบไหนที่ต้องการเล่า โดยไม่หลงทางไปกับสิ่งซึ่งไม่สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้
2. รู้จักผู้เข้าเว็บไซต์
ขั้นตอนสองคือ รู้จักผู้เข้าชมเว็บไซต์ โดยข้อมูลพื้นฐานที่เราต้องทราบคือ
-
ผู้เข้าชมหรือกลุ่มเป้าหมายคือใคร
-
ปัญหาหรือความต้องการของพวกเขาคืออะไร
-
ทำไมเขาถึงต้องการสินค้าหรือข้อมูลบางอย่างจากเว็บไซต์เรา
-
สินค้าหรือบริการอื่นที่พวกเขาใช้อยู่ มีอะไรบ้าง
ข้อมูลทั้งหมดข้างต้น จะทำให้เรากำหนด “รายละเอียดเนื้อหา” ของแต่ละเว็บเพจได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น เมื่อเรารู้ว่า ปัญหาของกลุ่มเป้าหมายคืออะไร เราก็นำเสนอข้อมูลว่า สินค้าเราแก้ปัญหาพวกเขาได้อย่างไร ดีกว่าผู้ให้บริการรายอื่นยังไงบ้าง เมื่อรู้จักผู้เข้าชม และ ระบุเป้าหมายของเว็บไชต์แล้วจะกำหนดได้ว่า แต่ละเว็บเพจ มีหัวข้ออะไร มีเนื้อหาอย่างไรบ้าง
3. เชื่อมโยงเว็บเพจ
ขั้นตอนต่อไปคือ ร่างแผนผังการเชื่อมโยงแต่ละเว็บเพจ หรือที่เรียกว่า Internal link แผนผังการเชื่อมโยง จะทำให้เห็นภาพว่า ผู้เข้าชมเว็บไซต์จะเดินทางไปดูข้อมูลภายในเว็บไซต์ได้อย่างไร เข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้รวดเร็วหรือไม่ โดยหลักการออกแบบ Internal link เบื้องต้น มีดังนี้
เข้าถึงง่าย
หลักการออกแบบเว็บไซต์ที่สำคัญ คือ ควรออกแบบให้ผู้เข้าเว็บไซต์ เข้าเว็บเพจสำคัญได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
โดย เว็บเพจสำคัญ คือ เว็บเพจที่ทำให้คุณบรรลุเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น หากเป็นเว็บไซต์ e-commerce เว็บเพจสำคัญ คือ หน้าสินค้าขายดี หรือ สินค้าเรือธงรุ่นใหม่ ที่อยากนำเสนอเป็นพิเศษ
เมื่อเข้าถึงสะดวก ปริมาณผู้เข้าเว็บเพจสำคัญจะเพิ่มขึ้น โอกาสที่คุณจะบรรลุเป้าหมายย่อมสูงขึ้นตาม
แล้วทำยังไง ?? คำตอบคือ จากหน้าแรกของเว็บไซต์ (Homepage) ให้เชื่อมโยงตรงไปยังเว็บเพจสำคัญ โดยผ่านเว็บเพจอื่นๆให้น้อยที่สุด เพราะจากสถิติ Homepage มักเป็นหนึ่งในหน้าที่มีปริมาณคนเข้าชมมากที่สุด การเชื่อมโยงตรงจาก Homepage จึงทำให้ผู้ชมเว็บไซต์ส่วนใหญ่เข้าถึงเว็บเพจสำคัญได้อย่างรวดเร็ว
จัดกลุ่มเนื้อหา
ควรแบ่งกลุ่มเนื้อหาเป็นหมวดหมู่ แล้วเชื่อมโยงเนื้อหาในหมวดหมู่เดียวกันเข้าด้วยกัน หรือที่เรียกว่า การจัดทำ “Category”
Category จะช่วยให้ผู้เข้าเว็บไซต์ทราบว่า เว็บไซต์มีเนื้อหาอะไรและเข้าถึงข้อมูลในหมวดหมู่นั้นได้ง่าย
ลองคิดดูสิว่า ถ้าเว็บไซต์ขายสินค้าอย่าง E-commerce ที่มีสินค้ามากกว่า 1,000 ชิ้น ไม่มีการจัดหมวดหมู่ ผู้เข้าเว็บไซต์จะท้อใจแค่ไหนเวลาค้นหาสิ่งที่ต้องการ เว็บไซต์เราเกี่ยวข้องกับอะไร เมื่อทำตามหลักการออกแบบข้างต้น ก็จะได้โครงสร้างเว็บไซต์ที่เป็นระเบียบ และง่ายต่อการค้นหาข้อมูล ประมาณรูปข้างล่าง