top of page
รู้จักการทำงานของเว็บไซต์เบื้องต้น  
       ปัจจุบันการสร้างเว็บไซต์ได้พัฒนาจากเดิมอย่างมากมีแนวทางต่างจากเว็บไซต์รุ่นเก่า เรียกว่าเว็บยุคใหม่ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการรับข้อมูลข่าวสารและอุปกรณ์การแสดงผลที่สามารถเข้าถึง ผู้ใช้มีหลากหลายมากขึ้น เช่น Smartphone , Tablet , Notebook , PC , Laptop เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์ประเภท Mobile Device แนวโน้มมีมากขึ้น การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสามรถเข้าได้ทุกที่ ทุกเวลา และอุปกรณ์การเข้าหลากหลาย ดังนั้นการออกแบบเว็บไซต์ต้องออกแบบให้แสดงผลได้ยืดหยุ่น เนื้อหาต้องให้เหมาะสมกับหน้าจอเพื่อให้ผู้ชมเห็นเนื้อหาได้พอดีกับหน้าจอ จึงมีการออกแบบเว็บเพจ แบบ Responsive ที่สามารถปรับขนาด ย่อ ซ่อน หรือขยายบนอุปกรณ์ที่ต่างกัน โดยใช้ URL เดียวกัน เน้นการตอบสนองการใช้งานที่ง่าย สําหรับการแตะเปิด หรือ ปิด หรือเลือกด้วยนิ้วของผู้ใช้ในหน้าจอ ขนาดที่ต่างกัน


แนวคิด Responsive Web Design

       Responsive Web Design การแสดงผลเว็บไซต์ที่รองรับทุกหน้าจอการทํางาน ถ้าเป็นสมัยก่อนการออกแบบหรือการสร้างเว็บไซต์นั้นจะต้องออกมาหลาย ๆ เวอร์ชั่น แต่ปัจจุบัน Responsive Web คือ เว็บไซต์ที่สามารถรองรับการทํางานบนหน้าจออุปกรณ์เครือข่าย ได้อุปกรณ์ เช่น Desktop Internet, Mobile Internet ( ipad, iphone, android, windows mobile อื่น ๆ ) ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะมีหน้าจอแตกต่างกันไป ตามขนาดความกว้างของเครื่อง โดยใช้ Code และ URL เดียวกันซึ่งนักเรียนต้องเรียนรู้เพิ่มเติม ปัจจุบัน Responsive Web Design : คือแนวคิดการออกแบบแนวใหม่ การออกแบบจะมี การปรับเปลี่ยน css ที่ใช้ในการทําเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถแสดงผลได้ทุก ๆ อุปกรณ์ ซึ่งจะใช้ URL ร่วมกัน แต่การแสดงผลในแต่ละอุปกรณ์แตกต่างกันไป

ข้อดีของ Responsive Web Design
•  สามารถรองรับการแสดงผลได้ทุกหน้าจอ ในรูปแบบที่แตกต่างกันไป เช่นผ่านทางอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ จะเป็น
   หน้าจอที่สมบูรณ์แบบ แต่หากผ่านทางอุปกรณ์มือถือ จะมีการเรียงลําดับเมนูลง มาเรื่อย โครงสร้างการออกแบบ
   จะขึ้นอยู่กับผู้พัฒนา
•  เพิ่มความสะดวกสบายสําหรับผู้ใช้งาน สามารถใช้งานได้โดยผ่าน URL ตัวเดียวกัน โดยไม่ต้องมี การกําหนด
   เวอร์ชั่นนี้สําหรับอุปกรณ์มือถือเท่านั้น ซึ่งมีผลดีในด้าน SEO ด้วย
•  การแก้ไขข้อมูล แก้ไขข้อมูลในที่เดียวแสดงผลทุกอุปกรณ์


ข้อเสียของ Responsive Web Design
•  ไม่สามารถรองรับการทํางาน พวก flash หรือพวก Javascript หรือรูปภาพที่มีขนาดใหญ่ได้
•  เนื่องจากอุปกรณ์มือถือแสดงหน้าจอขนาดเล็ก ผู้พัฒนาอาจจะต้องมีการตัดเมนูบางส่วนที่ไม่จําเป็น สําหรับ
   ผู้ใช้ ออก
•  ในการออกแบบต้องมีการจัดวางโครงสร้างให้ดี เช่น html5 css ให้เหมาะสม
•  การปรับปรุงโครงสร้าง ภายหลังจะแก้ไขยาก อาจจะทําให้โครงสร้างการแสดงผลบ้างส่วนมีปัญหาได้


ก่อนที่เราจะสร้างเว็บไซต์
       
        เราต้องทําความรู้จักเว็บไซต์ (Web Site) พื้นฐานก่อนว่าเนื้อหา ต่างๆ ที่เราจะนํามาสร้างหรือจัดวางบนเว็บไซต์นั้น ต้องมีอะไรบ้าง ประกอบไปด้วยเนื้อหาประเภทไหน บ้างเพื่อการออกแบบได้อย่างเหมาะสม การเริ่มต้นการสร้างเว็บเพจ เราควรทราบถึงความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับการสร้างเว็บก่อน เพื่อจะทราบถึงความหมายและหลักการทํางานของเว็บว่าเป็นอย่างไร

คำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์ 
Internet เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งรวมเอาเครือข่ายย่อยเป็นจํานวนมากต่อเชื่อมภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ทําให้ทั่วโลกเชื่อมโยงกัน เป็นเครือข่ายเดียวกันได้ในแพลตฟอร์มของเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรธุรกิจ หน่วยงานของรัฐบาล สถานศึกษา ตลอดจนเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้าไว้ด้วยกัน ทําให้ข้อมูลสารสนเทศ สินค้า และบริการที่นําเสนอผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เหล่านี้สามารถเข้าถึงได้จาก คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ จากที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน สํานักงาน โรงเรียน ชายทะเล หรือ ร้านอาหารทั่วโลก ในปัจจุบันมีคนจากทั่วโลกนับพันล้านคนที่เข้าถึงบริการบนอินเทอร์เน็ต เช่น เวิลด์ไวด์เว็บ facebook อีเมล์ (e-mail) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ห้องคุย (chat room) การส่งสาร ทันที (instant messaging) และวอยซ์โอเวอร์ไอพีหรือวีโอไอพี (Voice over IP: VoIP)

เวิล์ดไวด์เว็บ  (World Wide Web : WWW ) หรือเรียกสั้น ๆ ว่าเว็บ เป็นการให้บริการข้อมูล แบบไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) ที่ประกอบไปด้วยเอกสารจํานวนมากที่มีการเชื่อมโยงกัน เป็นแหล่งของข้อมูลขนาดใหญ่ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงผ่านโพรโทคอลที่เรียกว่า เอชทีทีพี (Hypertext Transfer Protocol: HTTP) เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) เป็นอินเทอร์เน็ตชนิดหนึ่งที่อยู่ใน รูปแบบของกราฟิกและมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วยข้อความ (Text) ภาพ (Graphic) เสียง (Sound) และ ภาพเคลื่อนไหว (Movie) เป็นต้น ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าไปในเว็บได้ง่าย และจะได้รับข้อมูลครบถ้วน ปัจจุบัน ถ้าพูดถึงอินเทอร์เน็ต คนทั่วไปจะเข้าใจว่าหมายถึงเว็บ ทั้งที่จริงแล้วเว็บเป็นส่วนหนึ่งของ อินเทอร์เน็ตเท่านั้

โฮมเพจ (Homepage) คือคําที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ โดยเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซต์ เมื่อเปิดเว็บไซต์นั้นขึ้นมา โฮมเพจก็จะเปรียบเสมือนกับเป็นสารบัญและคํานําที่เจ้าของเว็บไซต์นั้นสร้างขึ้น เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ของตนเองหรือองค์กร นอกจากนี้ภายในโฮมเพจก็อาจมี เอกสารหรือข้อความที่เชื่อมโยงต่อไปยังเว็บเพจอื่น ๆ
อีกด้วย


เว็บเพจ  (Webpage) เป็นหน้าเอกสารที่เขียนขึ้นในรูปแบบภาษาเอชทีเอ็มแอล (Hypertex Markup Language: HTML) สามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหน้าอื่นได้ โดยเรียกดูผ่านเว็บเบราว์เซอร์ เว็บเพจ (Webpage) เป็นเอกสาร
ที่ใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารซึ่งประกอบด้วยข้อความ ภาพ เสียง ภาพยนต์ กราฟิก และมัลติมีเดีย ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เว็บเพจจะถูกนํามาใช้ในการ ประชาสัมพันธ์ และนําเสนอข้อมูลความรู้ต่าง ๆ จึงส่งผลทําให้แต่ละเว็บเพจมีความแตกต่างกันไปตาม วัตถุประสงค์ของการนําไปใช้งาน ซึ่งอาจเปรียบเว็บเพจได้กับหน้าหนังสือแต่ละหน้านั่นเอง


เว็บไซต์ (Web site)  คือที่อยู่หลักที่เก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เป็นกลุ่มของเว็บเพจที่มีความเกี่ยวข้องกัน และอยู่ภายใต้ชื่อโดเมนเดียวกันเป็นแหล่งที่เก็บรวบรวม ข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ ของแต่ละบริษัทหรือหน่วยงานโดยเรียก เอกสารแต่ละหน้าของเว็บไซต์ว่า เว็บเพจ (Web Page) และเรียกเว็บหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ว่า โฮมเพจ (Home Page) อาจกล่าวได้ว่าเว็บไซต์ก็คือ เว็บเพจอย่างน้อยสองหน้าที่มีลิงก์ (Links) ถึงกัน หรือเปรียบได้กับหนังสือหนึ่งเล่ม ยกตัวอย่างเช่น www.chomsurang.ac.th คือ เว็บไซต์ของโรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์

เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser)  เป็นโปรแกรมใช้สําหรับการแสดงเว็บเพจ และสามารถเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่น
ในเว็บเพจเดียวกันหรือเว็บเพจอื่นผ่านการเชื่อมโยงหลายมิติ หรือไฮเปอร์ลิงค์ (hyperlink) เรียกสั้น ๆ ว่าลิงค์ (link) เว็บเบราว์เซอร์ช่วยเพิ่มความน่าสนใจในการใช้งานอินเทอร์เน็ต นอกเหนือไปจากการสื่อสารหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครือข่าย ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ เช่น Mozilla Firefox, Microsoft Internet Explorer, Apple Safali, Google Chrome และ Opera


เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Webserver) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการเว็บเพ็จ เมื่อผู้ใช้ร้องขอเว็บเพจ ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ โดยใช้ยูอาร์แอล (uniform Resource Location: URL) ระบุตําแหน่งของเว็บเพจ เว็บเซิร์ฟเวอร์จะส่งเว็บเพจที่ค้นหาได้กลับไปแสดงผลผ่านเว็บเบราว์เซอร์ของผู้ใช้

เว็บโฮสติง (Web Hosting) เป็นการให้บริการพื้นที่สําหรับสร้าง และจัดเก็บเว็บไซต์ของ หน่วยงาน หรือบุคคลทั่วไป เพื่อให้บุคคลอื่นเข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต 

URL  (Uniform Resource Locator) คือ แหล่งที่อยู่ของเว็บไซต์ใดๆ เพราะฉะนั้นเรา สามารถเข้าถึง website หนึ่งได้ โดยการพิมพ์ URL เช่น URL ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ http://www.tu.ac.th

ไคลเอนต์ – เซิร์ฟเวอร์ (Client – Server)  ในการติดต่อสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่คอมพิวเตอร์ทั่วโลกเชื่อมโยงถึงกันนั้น จะมี การติดต่อสื่อสารอยู่ 2 แบบ แบบส่งข้อมูลและรับข้อมูล โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทําการส่งข้อมูลเรียกว่า เครื่องให้บริการ(Server) และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับข้อมูล เราจะเรียกว่า เครื่องรับบริการ (Client)

ไอพีแอดเดรส (IP Address) คือรูปแบบหนึงของการระบุที่ตั้งของข้อมูลในเครือข่าย รวมถึงอินเทอร์เน็ต โดยจะอยู่ใน รูปแบบของ x.x.x.x. แทนด้วยตัวเลข โดยอาจมีรูปแบบอื่นตามลักษณะที่ใช้งาน

โดแมนแนม (Domain Name) คือชือของเว็บไซต์ที่ใช้เรียกบนอินเทอร์เน็ต และใช้ในการระบุเพื่อเข้าถึงเว็บไซต์ต่างๆ โดยใน ระยะแรกนั้นจะเป็นไอพีแอดเดรสที่ใช้ในการทํางาน ซึ่งเป็นตัวเลขที่อ่านและจดจําได้ง่ายกว่า โดยการตั้ง ชื่อโดเมนแนมจะต้องไม่ซ้ํากับที่เคยมีคนตั้งไปแล้ว

ภาษา HTML ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language เป็นภาษาที่ใช้สำหรับสร้างเว็บเพจ โดยจะได้รับ
การแปลหรือการแสดงผลโดยเว็บเบราเซอร์ซึ่งสามารถแสดงได้ทั้ง ข้อความ ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว การสร้างเว็บเพจด้วยภาษา HTMLใช้โปรแกรมประมวลผลคำทั่วไป เช่น Wordpad, Notepad และ MSword เป็นต้น โดยปกติจะนิยมใช้โปรแกรม Notepad ซึ่งมาพร้อมกับปฏิบัติการวินโดวส์ ทำให้ใช้งาน และแก้ไข งานสะดวก รูปแบบโครงสร้างภาษา HTML ประกอบด้วย ส่วนเริ่มต้นของคำสั่ง เรียก Tag เปิด และส่วนจบของคำสั่ง เรียกTag ปิด โดยTag ปิด จะมีเครื่องหมาย Slash ( / )  
backf.gif
next.gif
bottom of page