top of page
อินโฟกราฟิก คืออะไร ??
Infographic = Information + graphic.
อินโฟกราฟิก หมายถึง การนำข้อมูล หรือ ความรู้ มาสรุปให้เป็น“สารสนเทศในลักษณะของข้อมูล”
โดยใช้สัญลักษณ์ กราฟ แผนภูมิ ไดอะแกรม แผนที่ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว
Infographic คืออะไร?
Infographic (อินโฟกราฟิก) คือ การเล่าเรื่อง หรือ อธิบาย
ข้อมูล (Information) เช่น สถิติ ตัวเลข ข่าวสาร ความรู้ โดยใช้ ภาพ (Graphic) ในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของ กราฟ แผนภูมิ แผนผัง สัญลักษณ์ โดยข้อมูลจะถูกย่อยให้เข้าใจได้ง่าย ทั้งยังมีการออกแบบ สี รูปแบบ ลูกเล่น ภาพประกอบให้สวยงาม ดึงดูดผู้อ่าน โดยอาจจะมาในรูปแบบคลิปวิดีโอที่มีภาพเคลื่อนไหวและเสียงด้วยก็ได้
Infographic (อินโฟกราฟิกส์) คืออะไร? มีหลักการออกแบบอย่างไร ?
เวลาเราเห็นการอธิบายข้อมูลต่างๆ โดยใช้ภาพมาประกอบให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยเฉพาะตามโซเชียลมีเดีย
สิ่งเหล่านั้นเรียกว่า Infographic (อินโฟกราฟิก) เนื่องจากพฤติกรรมการเข้าถึงข้อมูลของคนยุคปัจจุบันมีความรวดเร็วมากขึ้น ข้อมูลหลายอย่างแม้มีประโยชน์แต่ถ้าต้องใช้เวลาในการอ่านหรือศึกษาก็อาจจะไม่มีคนสนใจ
Infographic จึงช่วยมาแก้ปัญหาตรงนี้
ข้อดีของการใช้ Infographic
1. เข้าใจข้อมูลได้ง่ายขึ้น
ไม่ว่าจะมีข้อมูลมากขนาดไหน หรือรายละเอียดเยอะเท่าไหร่ ถ้าสามารถย่อยและสรุปออกมาสั้น ๆ ตรงประเด็น ทำเป็นรูปภาพให้ดูเข้าใจง่าย ก็จะทำให้คนดูเข้าใจง่ายขึ้น หรือเห็นครั้งแรกก็รู้สึกสนใจอยากศึกษาต่อทันที
2. ทำให้คนจำได้
การใช้ภาพและสีสันจะช่วยท าให้ข้อมูลดูน่าสนใจ คนจดจ าข้อมูลได้มากกว่าการอ่านและยังเป็นการกระตุ้นให้คนสนใจและจดจำผู้ผลิตหรือแบรนด์ด้วย
3. สร้างภาพลักษณ์ที่ดี
สำหรับเพจต่างๆ ที่ต้องการทำ Content Marketing การใช้อินโฟกราฟิกจะช่วยให้มีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น
4. นำเสนอข้อมูลได้หลายรูปแบบ
อาจเป็นการเล่าเรื่องราว การเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ในรูปแบบต่างๆ ทั้งรูปภาพ การ์ตูน คลิปวิดีโอ
5. มีอัตราการแชรส์สูงกว่าคอนเทนต์แบบอื่น ๆ
อินโฟกราฟิกดูน่าสนใจ สวยงาม ข้อมูลกระชับ ครบถ้วน สามารถเข้าใจได้ง่ายในภาพเดียว ใช้เวลาในการอ่าน
ไม่มาก สะดวกรวดเร็ว คนจึงนิยมแชร์ในโซเชียลมีเดียเพื่อเผยแพร่ความรู้ต่อ
หลักการออกแบบ Infographic
1. ด้านข้อมูล
• เรื่องราวที่นำเสนอต้องมีความน่าสนใจ หรือเป็นเรื่องที่คนทั่วไปต้องการรู้
• ข้อมูลต้องเป็นความจริง มีความถูกต้อง
• เนื้อหากระชับ และจัดข้อมูลให้เป็นระบบระเบียบ
• สรุปประเด็นเป็นหัวข้อให้คนอ่านเข้าใจได้ง่าย
2. ด้านการออกแบบ
• รูปแบบสวยงาม แต่มีความเรียบง่าย ไม่ออกแบบการจัดวางให้ซับซ้อนจนเกินไป
• ดูแล้วเข้าใจง่าย เช่น การเน้นหัวข้อ การใส่ตัวเลข รูปภาพที่สื่อถึงข้อมูลได้ชัดเจน
• มีสีสันสะดุดตา แต่ไม่ลายตา เลือกใช้สีโทนสีให้เข้ากัน ตัวอักษรไม่กลืนกับพื้นหลัง
• สามารถนำไปใช้งานได้จริง เช่น เปิดดูบนมือถือแล้วภาพไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป
ขั้นตอนการทำ Infographic
1. กำหนดหัวข้อ
การกำหนดหัวข้อก่อนจะทำาให้กำหนดสิ่งอื่นๆ ต่อมาได้ คือ เนื้อหา กลุ่มเป้าหมาย เวลาที่จะเผยแพร่
2. รวบรวมข้อมูล
รวบรวมข้อมูลที่สำคัญเอาไว้ และจดบันทึกแหล่งที่มาให้ชัดเจน เพื่อที่จะสามารถกลับมาตรวจสอบ
ความถูกต้องของข้อมูลได้ในภายหลัง หรือใช้สำหรับอ้างอิงในผลงาน
3. อ่านสรุปข้อมูลแล้วเลือกส่วนสำคัญ
สิ่งสำคัญในการทำ Infographic คือข้อมูลต้องกระชับ ครบถ้วน และเลือกข้อมูลที่คิดว่าเป็นประโยชน์
หรือคนทั่วไปต้องการรู้มาใส่ไว้ใน Infographic แล้วจัดกลุ่มข้อมูล เพื่อที่จะให้มีโครงสร้างชัดเจน
เป็นเรื่องราว เข้าใจง่าย
4. เลือกรูปแบบ Infographic
เลือกรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อนำเสนอข้อมูล เช่น แผนภูมิ ตาราง รูปภาพ คลิปวิดีโอ หรือการเน้นตัวเลข
ที่เป็นข้อมูลเชิงสถิติเพื่อความน่าสนใจ
5. ตรวจสอบความเรียบร้อย
เมื่อทำเสร็จแล้ว ควรตรวจสอบอีกครั้ง ขั้นตอนนี้สำคัญ เพราะ Infographic ต้องเป็นสิ่งที่เห็นแล้วสะดุดตา
น่าสนใจ อ่านเข้าใจได้ง่าย นอกจากทบทวนด้วยตนเองแล้ว ควรให้คนอื่น ๆ ช่วยดูด้วยว่าน่าสนใจ
อ่านเข้าใจหรือไม่
6. เผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่บนโลกโซเชียลมีเดีย ควรเขียนแคปชั่นที่น่าสนใจเพื่อเป็นตัวช่วยในการดึงดูดให้คน
อยากรู้อยากอ่าน และควรติดแฮชแท็ก # ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เพื่อให้คนสามารถค้นหา Infographic
ของเราได้ง่ายขึ้น
ประเภทของอินโฟกราฟิก โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1. แบบภาพนิ่ง (Static infographics) เช่น แผ่นพับ โปสเตอร์ หนังสือภาพ หรือเป็นส่วนหนึ่งในบทความ
ในนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ ภาพกราฟิกประกอบข่าวโทรทัศน์ ฯลฯ ซึ่งพร้อมส่งต่อในสื่อดิจิทัลได้ง่าย เช่น การ ส่งอีเมล การนำไปใช้ประกอบบทความในเว็บไซต์ การส่งต่อใน Social Media เช่น LINE, Facebook,
Instagram เป็นต้น อินโฟกราฟิกส์ประเภทนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงเนื้อหา
2. แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive infographics) เหมาะกับการบรรยายข้อมูลที่มีปริมาณมากและซับซ้อน
ผู้อ่านสามารถดูข้อมูลเชิงลึก เพิ่มเติมได้ ผู้สร้างชิ้นงานสามารถเปลี่ยนแปลงเนื้อหาหรือปรับปรุงข้อมูล
ให้เป็นปัจจุบันได้
3. แบบภาพเคลื่อนไหว (Motion graphic) เป็นการสร้างภาพกราฟิกให้มีการเคลื่อนไหวได้ในหลายมิติ
แตกต่างจากแอนิเมชัน (animation) ตรงที่ไม่มีตัวละครเป็นตัวดำเนินเรื่อง หรือมีบทพูด และตัดฉากสลับ
เหมือนภาพยนตร์ แต่จะเป็นการสร้างการเคลื่อนไหวให้กราฟิก และใช้การพากย์เสียงบรรยายประกอบ
แม้ว่าอินโฟกราฟิกประเภทนี้ จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากสามารถดึงดูดให้ผู้ชมรู้สึกมีส่วนร่วมได้
มากกว่าแบบภาพนิ่ง และแบบมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบได้ แต่การออกแบบ ชิ้นงานจะยากขึ้น ต้องใช้เครื่องมือ
เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายในการสร้างชิ้นงานจะเพิ่มขึ้น
ตัวอย่างอินโฟกราฟิก
bottom of page